9 กลยุทธ์ฟื้นฟูชีวิตของแบรนด์

9 กลยุทธ์ฟื้นฟูชีวิตของแบรนด์
The Brand Revitalization

เมื่อสินค้าถึงกำหนดของวงจรชีวิต เจอกับคู่แข่งรายใหม่ ๆ ในตลาด ลูกค้าและผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงรสนิยม ความชอบและความต้องการไปจากเดิม ทำให้แบรนด์มียอดขาย ผลกำไรที่ไม่ได้เติบโตขึ้นหรืออาจลดลง การที่จะทำให้เแบรนด์สามารถที่จะเติบโตในปีต่อ ๆ ไปได้ รวมทั้งรักษาฐานลูกค้าเก่า อีกทั้งยังสามารถหาลูกค้าในกลุ่มใหม่ได้ การหากลยุทธ์และไอเดียเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่จำเป็น เราขอเสนอ 9 กลยุทธ์ฟื้นฟูชีวิตแบรนด์สาหรับการต่อยอดธุรกิจ

1. Product Improvitization
เป็นการพัฒนาปรับปรุงสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า เช่น การปรับปรุงสูตร การเพิ่มวิธีการใช้งานของสินค้า ทาให้มีการซื้อและใช้ซ้าบ่อยครั้งขึ้น การเพิ่มการบริโภคหรือการใช้ในจำนวนมากขึ้นต่อครั้ง ตัวอย่างเช่น การบอกวิธีการใช้นมข้นในรูปแบบใหม่ ๆการนำเสนอเมนู เพื่อเพิ่มการซื้อและการบริโภค การสร้างเมนูใหม่ออนไลน์ แจกเมนู การร่วมกับร้านค้าปลีกเพื่อแนะนารายการทำอาหารผ่านใบเสร็จของสินค้าที่ซื้อ หรือการที่บริษัทยางรถยนต์แนะนาการเดินทางเพื่อให้คนใช้รถมากขึ้น ยางก็จะถูกใช้บ่อยขึ้น ซึ่งทาให้มีการเปลี่ยนยางรถยนต์เร็วขึ้นเป็นต้น

2. Untapped market
การหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ และกลุ่มตลาดใหม่ การปรับแพ็คเกจจิ้งให้ดูทันสมัยขึ้นทั้งด้านฉลากและบรรจุภัณฑ์ การปรับภาพรวมของสีและโลโก้เมื่อจำเป็น ถ้าลูกค้ามีความต้องการด้านสังคมเพิ่มขึ้น ก็จาเป็นต้องคิดเรื่องการทาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ เช่นขวดรีไซเคิล หลอดกระดาษ หรือการสร้างตลาดในผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น H&M เปิดร้านค้าปลีกขายสินค้าตกแต่งบ้าน นอกเหนือจากสินค้าเสื้อผ้า

3. Associate Storyline
สร้างเรื่องราวเชื่อมโยงกับลูกค้า สร้างความแตกต่างและจุดยืนของแบรนด์ การใช้แบรนด์แอมบาสเดอร์ อินฟูเอนเซอร์ในการเล่าเรื่องราวเชื่อมโยงกับแบรนด์ การสร้างคอนเทนต์เพื่อเสริมอัตลักษณ์ของแบรนด์ และเรื่องราวให้น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องเที่ยว อาหาร สุขภาพ ความรู้ที่คนให้ความสนใจ

4. Collaboration
การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ผ่านการร่วมมือทางด้านธุรกิจ การทำ collaboration กับแบรนด์ partnersที่มีจุดยืนและตอบสนองความต้องการต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำ strategic alliance การควบรวมซื้อกิจการใหม่ acquisition หรือการลงทุนร่วม joint venture สามารถขยายฐานลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ได้ด้วย

5. Distribution and Technology Transformation
การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น ผ่านการขายช่องทางออนไลน์ อีคอมเมิร์ช สื่อสังคมออนไลน์ครอบคลุมการจัดจาหน่าย และประชาสัมพันธ์ ต้องเข้าใจ customer journeyของลูกค้าในแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน

6. Differentiation with Product and Process Innovation
การสร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรมหรือการพัฒนาสินค้าใหม่ การประดิษฐ์สินค้าหรือกระบวนการใหม่ เช่น ยาสีฟันที่ไม่ใช้น้า พัดลมที่ไม่จาเป็นต้องมีใบพัด

7. Price Point
การวิเคราะห์ราคาที่เหมาะสม สารวจ ปรับปรุงราคาของสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า การลดหรือเพิ่มปริมาณ คุณลักษณะ ความเชี่ยวชาญ การสร้างราคาโดยทางจิตวิทยาต่าง ๆ เช่น decoy effect frame effect เป็นต้น

8. Redefining Brand Identity
ยกระดับคุณค่าและประสบการณ์ของลูกค้าผ่านแบรนด์ สร้างความประทับใจ การจดจำแบรนด์ และกลับมาซื้อซ้ำ ต้องใช้สื่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งจุด touch point ต่าง ๆ

9. Rename
อาจจะเป็นข้อสุดท้ายที่จะพิจารณาการเปลี่ยนชื่อแบรนด์ ในกรณีการรับรู้ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์เป็นไปในแง่ลบ อาจเป็นการสร้างแบรนด์ใหม่ การสื่อการประชาสัมพันธ์เพื่อปรับภาพลักษณ์และลบความรู้สึกที่ไม่ดีกับแบรนด์


สำหรับวันนี้ หวังว่ากลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้นจะช่วยผู้ประกอบการ นักธุรกิจได้ทบทวนเกี่ยวกับแบรนด์ที่ตนเองมีอยู่ การสร้างแบรนด์ใหม่อาจจะง่ายกว่าการทำให้แบรนด์ปัจจุบันมีคุณค่า และเติบโตต่อไปได้ในอนาคตได้ เป็นหนึ่งในงานที่ท้าทายผู้ประกอบการและนักการตลาด


Source: Adapted from Strategic Brand Management; Building, Measuring and Managing Brand Equity, 5th edition by Kevin Lane Keller and Vanitha Swaminathan

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า